ระบบปั้นอัจฉริยะ : Scholar's Advanced Technological System - ตอนที่ 768 เราจะรู้ในอีกไม่ช้า!
- Home
- ระบบปั้นอัจฉริยะ : Scholar's Advanced Technological System
- ตอนที่ 768 เราจะรู้ในอีกไม่ช้า!
การแข่งขันอวกาศระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกาทำให้เกิดการพูดคุยจำนวนมากในเครือข่ายโซเชียลเน็ตเวิร์คจีนทั้งหลาย การพูดคุยค่อนข้างดุเดือดเมื่อเป็นเรื่องการเปรียบเทียบสถานีดวงจันทร์กับระบบช่วยชีวิตดาวอังคาร
คนส่วนใหญ่มองดูเรื่องนี้จากมุมมองที่เป็นกลางและสมเหตุสมผล
ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มคนที่สนับสนุนสหรัฐอเมริกาบอกว่าจรวด BFR ใช้เครื่องยนต์มีเทนออกซิเจนเหลวที่ล้ำที่สุด และจรวด BFR สามารถมีแรงขับเคลื่อนสูงสุดที่ 138 ล้านล้านนิวตัน สเปคเหล่านี้ทั้งหมดเอาชนะสกายโกลว์ได้
และดาวอังคารยังห่างไกลไปหลายสิบล้านกิโลเมตร ความยากของการขนส่งยังเทียบไม่ได้เลย ดูเหมือนว่าสหรัฐอเมริกาประสบความสำเร็จมากกว่า
ฝ่ายคนที่สนับสนุนจีนมองดูมันจากมุมมอง ‘ความเป็นประโยชน์’ ท้ายที่สุดแล้ว ดาวอังคารห่างออกไปหลายล้านกิโลเมตรและมีโอกาสในการปล่อยยานไปแค่ทุกๆ สองปี ในอีกแง่หนึ่ง ดวงจันทร์นั้น ‘ใกล้บ้านมาก’
เมื่อมองอย่างเป็นกลาง ทั้งสองฝ่ายต่างมีเหตุผลที่ฟังขึ้น
แต่ลู่โจวไม่ได้สนใจการพูดคุยบนโลกออนไลน์พวกนี้เลย
ในความเห็นของเขา การถกเถียงพวกนี้ไม่มีความหมายเลย
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องขุดหาทรัพยากรบนดวงจันทร์หรือการสำรวจดาวอังคารต่างเป็นโปรเจกต์ที่เสียเงินในระยะสั้น ไม่ว่าจะเป็นแร่ฮีเลียมและไทเทเนียมบนดวงจันทร์หรือมีเทนจำนวนมากบนดาวอังคาร สิ่งเหล่านี้อยู่ห่างไกลจากโลกมาก
เหมือนกับที่หลายร้อยปีก่อน ก่อนยุคแห่งการค้นพบ ไม่มีใครรู้ว่านักอาณานิคมพวกนี้จะไปไหน…
แต่ดวงจันทร์อยู่ใกล้กว่ามาก
แต่หากพิจารณาจากมุมเศรษฐศาสตร์ โปรแกรมอวกาศนั้นเหมือนเป็นการสูญเสียเงิน บางครั้งก็ไม่อาจจะมองมันได้จากมุมมองเศรษฐศาสตร์เพียงอย่างเดียว
อย่างน้อยสำหรับประเทศจีน ผลประโยชน์ด้านวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ และการเมืองจากโครงการอวกาศไม่สามารถถูกวัดค่าได้โดยเงิน
ดูโปรเจกต์ปราสาทจันทราเป็นตัวอย่างได้ ในฐานะประเทศแรกของโลกที่ส่งสถานีอวกาศไปโคจรดวงจันทร์ ประเทศอื่นที่อยากจะมีส่วนร่วมในโปรเจกต์วิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับดวงจันทร์อาจจะถูกบังคับให้เซ็นสัญญากับจีน
หรือว่าดูเยอรมันเป็นตัวอย่าง ในฐานะประเทศแรกที่ได้ตกลงกับจีนเรื่องเทคโนโลยีฟิวชั่นที่ควบคุมได้ พวกเขาได้เริ่มตกลงกันเรื่องการใช้สถานีอวกาศปราสาทจันทราตามที่ควรจะเป็น
จากผลการตกลงกัน หลังจากที่เฟสแรกของปราสาทจันทราเสร็จสิ้น จีนจะจองตำแหน่งการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สำหรับสถาบันมักซ์พลังค์เพื่อการวิจัยระบบสุริยะ จีนอนุญาตให้เยอรมันส่งนักวิจัยทางวิทยาศาสตร์หนึ่งคนไปปราสาทจันทรา
เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน สถาบันมักซ์พลังค์เพื่อการวิจัยระบบสุริยะจะร่วมมือกับสถาบันวิจัยจีนในโปรเจกต์ที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรดวงจันทร์
อังกฤษ ฝรั่งเศส สหภาพยุโรป รัสเซีย ญี่ปุ่น และประเทศอื่นได้เริ่มเจรจากับจีนเรื่องปราสาทจันทรา
จีนยินดีที่จะร่วมมือกับประเทศเหล่านี้ พวกนั้นยังได้จองปราสาทจันทราให้กับนักบินอวกาศชาวอเมริกัน
ความสัมพันธ์เชิงคู่แข่งระหว่างประเทศนั้นเป็นเรื่องสัมพัทธ์ ไม่เคยที่จะสุดโต่ง
ถึงจีนจะมีตำแหน่งที่ชัดเจนในโลก ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้นมักจะวุ่นวายเป็นประจำ
แม้แต่ในช่วงที่ตึงเครียดที่สุดในสงครามเย็น สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตก็ยังร่วมมือกันในโปรเจกต์ฟิวชั่นที่ควบคุมได้และการบินและอวกาศที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน
จนถึงตอนนี้ความตึงเครียดระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกานั้นห่างไกลจากสงครามเย็น จีนได้รักษาตำแหน่งที่คงความสงบและไม่เคยเริ่มยั่วยุประเทศอื่น แน่นอนว่าถ้าสหรัฐอเมริกาอยากร่วมมือด้วย มันก็ไม่มีเหตุให้จีนต้องปฏิเสธ
แต่ว่าสิ่งนี้อยู่บนฐานที่ว่าสหรัฐอเมริกายินยอมจะแบ่งปันทรัพยากรอาณานิคมดาวอังคารและสิ่งอื่นที่มีมูลค่าเท่ากัน
ลู่โจวไม่รู้ว่าการเจรจาของกระทรวงต่างประเทศเป็นอย่างไร แต่เขาไม่ได้สนใจ
เรื่องนั้นไม่ใช่ธุระกงการของเขา
ประเด็นเล็กน้อยพวกนี้แทบไม่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการการโคจรดวงจันทร์
เขามีเรื่องเร่งด่วนอื่นให้กังวลมากกว่า…
เมืองจินหลิง
องค์การอุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์การบินและอวกาศของประเทศจีน
การประชุมเรื่องโปรเจกต์โคจรดวงจันทร์ถูกจัดขึ้น
บุคคลชื่อดังในด้านอุตสาหกรรมการบินและอวกาศทุกคนอยู่ที่การประชุมนี้
ผู้คนอย่างนักวิชาการหยวนฮวานหมิน ผู้อำนวยการระบบจาง และบุคคลเบอร์ใหญ่คนอื่นๆ ต่างรวมตัวกันที่นี่
หลังจากที่กล่าวเปิดโดยสั้นๆ การประชุมเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการ ลู่โจวเดินบนเวทีและมองดูทุกคน จากนั้นเขาพูดอย่างรวบรัด “ผมเชื่อว่าคุณได้ยินกันมาแล้วว่าสหรัฐอเมริกาได้สำเร็จเฟสแรกของโปรเจกต์แอรีสแล้ว
จากการเปิดเผยอย่างละเอียดโดยนาซา จรวด BFR ไม่ได้ใช้การโคจรขนย้ายดั้งเดิมโฮห์แมนน์ แต่มันกลับใช้วงโคจรขนย้ายโดยตรงที่เข้าระบบแรงโน้มถ่วงของดาวอังคาร”
หลังจากเขาพูดจบ เสียงกระซิบดังเกิดขึ้นในห้องประชุม
ถึงแม้ว่ามีหลายคนรู้เรื่องวงโคจรขนย้ายโดยตรง พวกนั้นก็ยังช็อกอยู่ดี
จนถึงตอนนี้ ยานอวกาศที่เดินทางไปดาวอังคารต่างใช้วงโคจรโฮห์แมนน์เนื่องจากมันเป็นเส้นทางที่ประหยัดเชื้อเพลิงที่สุด
แต่วงโคจรนี้สามารถถูกใช้ได้ทุกสองวัน และมันใช้เวลา 180 วันเพื่อบินไปดาวอังคาร
เมื่อเป็นเรื่องโพรบอวกาศ การบิน 180 วันนั้นยอมรับได้ แต่เมื่อเป็นเรื่องการส่งผู้โดยสารไปดาวอังคาร หกเดือนเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน
ดังนั้นในฐานะยานพาหนะหลักของโปรแกรมแอรีส จรวด BFR มีเส้นทางการยิงที่เร็วกว่าและสั้นกว่า เมื่อเทียบกับวงโคจรโฮห์แมนน์ จรวด BFR ต้องการเวลาแค่ 30 ถึง 120 วันเพื่อเดินทางไปถึงดาวอังคาร มันยังมีช่วงการปล่อยที่ยาวกว่าและไม่จำเป็นต้องรอถึงสองปีเพื่อปล่อยครั้งต่อไป
ราคานี้คือเชื้อเพลิงแน่นอน
ถ้าดูอย่างผิวเผิน จรวด BFR ดูเหมือนว่าจะเพิ่มค่าใช้จ่ายในการไปดาวอังคาร แต่จริงๆ แล้ว การลดเวลาบินนั้นจะสามารถลดโหลดทรัพยากรที่ใช้ นั่นหมายความว่าน้ำ ออกซิเจน และอาหารที่ลดลง ดังนั้น การบินในเส้นทางที่ประหยัดเชื้อเพลิงน้อยกว่าอาจจะลดค่าใช้จ่ายได้…
ถึงการที่ไม่ได้ใช้โฮห์แมนน์จะฟังดูเป็นแผนการเสียสติสำหรับทุกคนในอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ มันแสดงให้เห็นว่าสเปซเอ็กซ์ล้ำมากแค่ไหน!
ลู่โจวมองรอบห้องประชุมและไม่ได้พูดอะไร เขารออย่างเงียบๆ ให้การพูดคุยเงียบลง
ผ่านไปสักพัก มีศาสตราจารย์คนหนึ่งในห้องประชุมได้ยกมือและพูดขึ้น
“ผมมีเรื่องที่ต้องพูด”
ลู่โจวพยักหน้าให้ศาสตราจารย์คนนั้นและพูดตอบ
“เชิญเลยครับ”
ศาสตราจารย์วัยกลางคนปรับแว่นและลุกขึ้นช้าๆ
“ผมคิดว่าความสำเร็จของจรวด BFR พิสูจน์ให้เราเห็นว่าจรวดเคมียังไม่ถึงจุดคอขวด
บางทีเราน่าจะดูแผนการพัฒนาของเราอีกครั้ง ผมไม่ปฏิเสธความสำคัญของระบบการขับเคลื่อนด้วยเครื่องทรัสเตอร์ไอออน แต่ผมว่ามันเร็วเกินไปที่เราจะทิ้งจรวดเคมีแบบปกติ”
ลู่โจวมองดูศาสตราจารย์อยู่สักพัก จากนั้นเขาถามขึ้นทันทีว่า “ถ้าผมให้เวลาคุณ 50 ปี โดยมีงบปีละพันล้านดอลลาร์ คุณแน่ใจใช่ไหมว่าจะสามารถไปถึงระดับทรัสเท่ากับ BFR?”
ศาสตราจารย์ไม่คาดคิดว่าลู่โจวจะถามคำถามนี้ เขาลังเลอยู่สักพักและมีท่าทีไม่แน่ใจ
ผ่านไปสักพัก เขาส่ายหน้าและตอบอย่างจริงใจ
“มันคงจะยาก”
จรวด BFR เป็นจุดสูงสุดของเครื่องยนต์มีเทนออกซิเจนเหลว ไม่มีสิ่งไหนที่จะต่อกรกับจรวดพลังมหาศาลนี้ได้
มันเป็นไปไม่ได้ที่จีนจะเอาชนะอเมริกาในด้านนี้
ศาสตราจารย์วัยกลางคนไม่กล้าที่จะพูดโม้
ลู่โจวไม่ได้พูดอะไรออกมา เขาส่งสัญญาณให้ศาสตราจารย์นั่งลง
“นั่นถูกต้อง ตามที่คุณพูด มันเป็นเรื่องยาก
บางทีอาจจะมีที่ให้พัฒนาระบบขับเคลื่อนเคมีได้ ถ้าเราพัฒนาเครื่องยนต์ของเรา เราสามารถบินได้นานขึ้นและไกลขึ้น แต่การเอาชนะคู่แข่งด้วยจรวดเคมีนั้นเป็นไปไม่ได้
ดังนั้น เราควรโฟกัสที่ระบบขับเคลื่อนด้วยทรัสเตอร์ไอออน มันเป็นข้อได้เปรียบเดียวของเรา เราควรรักษามันไว้”
หลังจากหยุดไปสักพัก ลู่โจวมองดูรอบห้องประชุมและพูดว่า
“ถึงแม้ว่าจรวด BFR เป็นความสำเร็จอย่างสูง เราไม่ควรที่จะดูถูกตัวเอง
เรามีตัวเลขทรัสน้อยกว่าพวกนั้น แต่เราก็มีข้อได้เปรียบของตัวเอง! จรวดเคมีจะไม่มีทางมีปริมาณแรงดลเท่ากับจรวดทรัสเตอร์ไอออนของเรา
ผมได้ประกาศไปไม่นานมานี้ว่าสตาร์สกายเทคโนโลยีกำลังพัฒนายานอวกาศที่เหมาะสมและยืดหยุ่นมากกว่าสำหรับเที่ยวบินวงโคจรต่ำ การวิจัยสิ้นสุดแล้ว และมันถึงเวลาเปิดเผยความลับ”
ลู่โจวมองดูโปรเจกต์เตอร์ขนาดใหญ่ข้างหลังเขาและกดที่พอยต์เลเซอร์ในมือ
ผ่านไปสักพัก รูปคอนเซปต์สามมิติของสตาร์ไลท์ถูกนำเสนอต่อหน้าทุกคน
เมื่อนักวิชาการหยวนมองดูรูป เขาอดที่จะยืนลุกขึ้นไม่ได้
“สิ่งนี้คืออะไร?!”
นักวิชาการหยวนไม่เพียงคนเดียวที่รู้สึกเซอร์ไพรส์กับสิ่งกำลังเห็นอยู่
ทุกคนมองดูเครื่องบินอวกาศที่มีรูปร่างเป็นเอกลักษณ์ และเสียงอื้ออึงตกใจดังไปทั่วห้องประชุม
ลู่โจวมองดูนักวิชาการหยวนและยิ้มในระหว่างที่เขาพูดต่อ
“มันมีชื่อว่าสตาร์ไลท์! เครื่องบินอวกาศยุคใหม่ของเรา”
ซุนหยวนเพ่ยนั่งข้างนักวิชาการหยวน เขามองดูรูปภาพด้วยตาเบิกกว้าง เขาอดจะตั้งคำถามกับดีไซน์ไม่ได้
“ดีไซน์นี้…เป็นไปได้ใช่ไหม?”
สี่เครื่องยนต์บนปีกแท่งแบบคู่ และเครื่องยนต์หลักที่ส่วนหาง…
มันดูเพ้อเจ้อ!
“เราได้พิสูจน์แล้วว่ามันเป็นไปได้ทางเทคนิค สำหรับความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ…” ลู่โจวนิ่งอยู่สักพักและพูดว่า “เราจะรู้ในไม่ช้า!”